วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

ipconfig/all,netstat-a,tracert,p ingในcmd

คำสั่งที่ใช้ใน cmd
ipconfig เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเรียกดูหมายเลข IP Address ของเครื่องที่เราใช้งานอยู่ ?ซึ่งถ้าหากเราไม่ทราบว่าหมายเลข IP Address ของเครื่องที่เราใช้งานอยู่นั้นเป็นหมายเลขอะไรหรือมีรายละเอียดอะไรที่ เกี่ยวข้องกับหมายเลข IP Address บ้าง ก็สามารถใช้คำสั่งนี้เรียกดู



รูปแบบคำสั่ง
ipconfig (ถ้ามี option เพิ่มก็จะมีรูปแบบนี้ ipconfig /x )
นอกจากนี้ยังมี option คำสั่งเพิ่มเติมที่นิยมใช้ร่วมกับคำสั่ง ?ipconfig ?ได้แก่
/? แสดง help ของคำสั่งนี้
/all แสดงรายละเอียดทั้งหมด
/release ยกเลิกหมายเลข IP ปัจจุบัน
/renew ขอหมายเลข IP ใหม่ ในกรณีที่เน็ตเวิร์คมีปัญหา เราอาจจะลองตรวจสอบได้โดยการใช้คำสั่งนี้ ซึ่งหากคำสั่งนี้ทำงานได้สำเร็จ แสดงว่าปัญหาไม่ได้มาจากระบบเครือข่าย แต่อาจจะเกิดจากซอฟท์แวร์ของเรา
Netstat เป็นการตรวจสอบการเชื่อมต่อจากที่ต่างๆออกมาทั้งหมดออกมาไม่ว่าจะมา จาก protocol TCP, UDP, 
ICMP และอื่นๆ รวมไปถึงหมายเลข Port และ IP ของผู้ติดต่อมาที่เครื่องของเรา   
    
รูปแบบคำสั่ง
ค่าที่แสดงออกมาในการตรวจสอบ มีความหมายดังนี้
      *Proto คือ Protocol ที่กำลังใช้งานอยู่จะมี TCP และ UDP เป็นหลัก
*Local Address (ค่า IP หรือชื่อเครื่อง: port ที่ใช้งานอยู่) คือจะแสดง หมายเลข IP ของเรา (ในที่นี้เป็นชื่อเครื่อง) และ port ที่กำลังใช้งานอยู่
*Foreign Address (ค่า IP หรือชื่อเครื่อง: Port ที่ใช้ติดต่ออยู่): อันนี้จะแสดงชื่อหรือ IP address
ของเครื่องที่เรากำลังติดต่ออยู่ด้วย และหมายเลข Port ที่เราใช้เชื่อมต่อนั้นๆ
*State คือ สถานะของการเชื่อมต่อของ netstat นั้นๆจะมีอยู่ด้วยกัน 4 สถานะหลักๆได้แก่
Established เป็นสถานะที่บอกว่าเครื่องนั้นๆได้เกิดการเชื่อมต่อกับ IP address ปลายทางด้วย portหมายเลขนั้นแล้ว ซึ่งสถานะนี้เป็นสถานะที่เกิดได้ทั่วไปเพราะการเชื่อมต่อใน internet นั้นเป็นเรื่องที่ธรรมดาอยู่แล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราควรตรวจสอบให้ดีเพราะมีบาง port ที่ไม่จำเป็นก็ไม่ควรจะมีการเชื่อมต่ออยู่ เช่น port 23 ซึ่งเป็น port ของ telnet ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั้นไม่มีใครใช้กันสักเท่าไรและที่สำคัญอีกอย่างสำหรับสถานะ Established ก็คือควรตรวจสอบก่อนว่าเราไม่ได้ connect ไปหาIP addressแปลกๆเข้าให้เพราะว่าบางที่นั้นอาจเป็นเพราะว่าในเครื่องของเราลักลอบติดต่อไปด้วยโปรแกรมอันตรายอย่าง Trojan อยู่ก็เป็นไปได้
Time_wait คือสถานะที่รอการเชื่อมต่อกลับมาอยู่หรือถ้าเราจะมองในแง่ร้ายสุดก็คือโดน scan port อยู่
Listening คือยังไม่มีเครื่องใดติดต่อมาหรือว่ากำลังรอการเชื่อมต่ออยู่นั้นเอง
Close_wait คือปิดการเชื่อมต่อปกติจะไม่พบมากสำหรับสถานะนี้และสถานะอื่นๆที่อาจพบได้แก่SYN_SENT , FIN_WAIT เป็นต้น
tracert จะมีลักษณะการใช้งานคล้ายกับการ ping แต่แตกต่างกันตรงที่ ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาจะเป็นเส้นทางที่ใช้ไปยังสถานที่นั้น ว่าได้ผ่านไปที่ใดบ้าง จนกว่าจะถึงปลายทาง มีประโยชน์มากในกรณีที่วงจรสื่อสารเกิดความขัดข้อง เราสามารถทดสอบดูว่าเกิดความขัดข้องที่จุดใดนั่นเอง


รูปแบบคำสั่ง
tracert www.google.com (จะใช้เป็นชื่อเว็บไซต์หรือ IP Address ก็ได้) ผลลัพธ์ของการตรวจสอบจะแสดงเส้นทางต่าง ๆ ว่าผ่านไปที่ใดบ้างก่อนถึง  ซึ่งจะแสดงรายการเว็บไชต์ต่างๆ ที่เป็นทางผ่านโดยมีตัวเลขลำดับของเว็บไซต์และรายละเอียดต่อท้ายจนกระทั้ง แจ้งข้อความว่าTrace complete ก็เป็นอันสิ้นสุดของเส้นทาง ในกรณีที่ขึ้นเครื่องหมาย?? *?? แสดงว่าเส้นทางนั้นขาด?หรือขัดข้อง

Ping เป็นการทดสอบว่าเส้นทางสื่อสารจากเครื่องที่ใช้อยู่ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่าย?ว่ายังใช้การได้อยู่หรือไม่ โดยสามารถพิมพ์ชื่อเครื่อง หรือหมายเลข IP Address ของเครื่องที่ต้องการทดสอบ หรือเว็บไซต์ที่ต้องการทดสอบก็ได้ Ping สามารถประมาณเวลาเดินทางโดยเฉลี่ยของข้อมูลไปกลับ โดยคำนวณจากช่วงเวลาและอัตราเร็วในการตอบรับ เป็นหน่วยมิลลิวินาที และอัตราการสูญเสียข้อมูลระหว่างโฮสต์เป็นเปอร์เซ็นต์



รูปแบบคำสั่ง

Ping www.google.com ผลของการใช้คำสั่งนี้ตามตัวอย่างรูปภาพ หมายถึงการสื่อสารระหว่างเครื่องที่เราใช้กับเครื่องหรือเว็บไซต์ปกติดีเครือข่ายระหว่างเครื่องทั้งสองนั้นเชื่อมต่อกันสมบูรณ์แล้ว คำว่า 0% loss หมายความว่าเส้นทางสื่อสารไม่มีการสูญหายของข้อมูลเลย (ดี) นอกจากนี้ ยังแสดงถึง เวลาที่ข้อมูลใช้ในการวิ่งไปยัง ?www.google.com ?มี 3 ค่า คือค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด จากการทดสอบจำนวน ?4 ครั้ง โดยมีหน่วยเป็น ?ms (เศษหนึ่งส่วนพันวินาที)

2 ความคิดเห็น:

  1. เด็กสมัยนี้เก่งกว่าผู้โหญ่แล้วน่ะครับ 555 ขอบคุณบทความน่ะครับ

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณมากครับ กับบทความดีๆ

    ตอบลบ